วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทำให้งานกิจกรรมต่างๆสำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนำองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดการ


โครงสร้างการบริหารงานภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา





การให้บริการของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
 บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
เป็นการให้บริการยืมและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 ของสำนักหอสมุดและให้บริการตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ ตามสิทธิการยืมของสมาชิกห้องสมุดแต่ละประเภท  ผู้มีสิทธิยืมหนังสือได้ต้องทำบัตรสมาชิกห้องสมุดโดยแสดงบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานมหาวิทยาลัย บัตรนิสิต หรือบัตรสมาชิกห้องสมุด ทุกครั้งที่ติดต่อยืมทรัพยากร
บริการวารสารและนิตยสาร
เป็นการให้บริการวารสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ  ฉบับใหม่ล่าสุดจัดเก็บในแฟ้มปกพลาสาติก ให้บริการบนชั้นวารสารใหม่ โดยเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ และ A-Z ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายเอกสารและวารสาร ชั้น 4
บริการโสตทัศนศึกษา
เป็นการให้บริการให้ยืม-คืนสื่อโสตฯ ทุกประเภท ให้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์  ให้บริการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายโสตทัศนศึกษา ชั้น 6
บริการยืมระหว่างห้องสมุด
เป็นการให้บริการค้นหาและติดต่อสารสนเทศทุกประเภทที่ไม่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำมาให้บริการกับผู้ใช้ โดยผู้ใช้บริการขอสำเนาเอกสารจากบทความวารสาร  หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย หรือสารสนเทศอื่น ๆ โดยสำนักหอสมุดจะติดต่อไปยังแหล่งอื่น ๆ ที่มีสารเทศนั้น ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะยืมทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด ต้องสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด เพื่อทำบัตรใช้ในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ  ใช้บริการได้ที่ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการสำเนาบทความวารสารที่มีในสำนักหอสมุด
เป็นบริการพิเศษสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ของมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับบทความที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางมาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการให้บริการจัดทำสำเนาบทความจากวารสารที่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
บริการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการเสนอแนะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสารสนเทศที่น่าสนใจหรือต้องการให้สำนักหอสมุดจัดหาเข้าห้องสมุด เนื่องจากสิ่งพิมพ์นั้นใช้ในการประกอบการเรียนการสอน การทำงาน และการทำวิจัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรหรือนโยบายของมหาวิทยาลัยบูรพา
บริการ Document Delivery Service (DDS)
เป็นบริการยืมหนังสือ วิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนด้านการเรียน การสอน การวิจัย โดยจัดส่งที่ห้องสมุดคณะฯ ผู้ใช้บริการสามารถรับหนังสือและวิทยานิพนธ์ได้ที่ห้องสมุดคณะฯ ทุกวันพุธเวลา09.30-12.00



การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด            งานบำรุงรักษาทรัพยากร ทำหน้าที่บำรุงรักษาหนังสือให้มีสภาพดี เหมาะสมกับการให้บริการในห้องสมุดซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาเพื่อให้มีสภาพรูปเล่มที่มั่นคงแข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยงานบำรุงรักษาทรัพยากร มีนโยบายในการดำเนินงานดังนี้คือ
1. หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์ กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา) หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง
2. หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
3. การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้ จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
4. สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 . ของวันทำการปกติ หากได้รับแจ้งหลังจากเวลานี้ผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา
5. วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้ จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อม การเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม




วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1 ความหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ และตัวอย่าง





                        ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง อาคารสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายอย่างเป็นระบบเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดการเรียนรู้ โดยภายในการทางานอย่างเป็นระบบนั้นจะมีโครงสร้างการทางาน การกาหนดเป้าหมายในการทางาน วิสัยทัศน์ นโยบายเพื่อให้สามารถบริการสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ


★☆★☆★☆★☆★☆
ยกตัวอย่างเช่น
 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา



สำนักคอมพิวเตอร์

        ศูนย์การศึกษาภายในสถาบันการศึกษา  โดยศูนย์การศึกษาประเภทนี้สถาบันการศึกษาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการสื่อ 
บางที่เรียกว่า  Unified Media Center  นอกจากนั้นยังใช้เป็นแหล่งค้นคว้าฝึกผลิตสื่อที่เตรียมการสอน  การบริการภายในศูนย์ที่มีบุคลากรที่มีความชำนาญให้บริการเช่น
      
                  - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Qs1 ชั้น 3) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
                        - หน่วยโสตทัศนศึกษา  โรงเรียน/ศูนย์การศึกษาโรงเรียนจังหวัด
                        - หน่วยบริการศึกษาเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัย/ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
-สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                        -หน่วยบริการการศึกษาทางไกล  กศน.  ฯลฯ
           ศูนย์สื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มโรงเรียน   ศูนย์สื่อการศึกษาประเภทนี้เป็นลักษณะรวบรวมกลุ่มของสถานศึกษาขึ้นมาที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสมและมีศักยภาพสูงทั้งในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  โดยบุคลากรภายในศูนย์อาจจะมาจากโรงเรียนภายในกลุ่มหรือเป็นบุคลากรของโรงเรียนที่ศูนย์สื่อการ
ศึกษาตั้งอยู่ก็ได้
           ศูนย์สื่อสารการศึกษาทั่วไป  ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสื่อทางการศึกษาทั่วไป  บางทีเรียกว่าศูนย์บริการกลาง(System  Media  Center)  แต่ยังให้บริการแก่บุคคลภายนอกได้ตามสมควร  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อทั่วไปเช่น
                       - สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ  เพื่อให้บริการหน่วยงานต่างๆ  อย่างกว้างขวาง  ไม่จำกัดเฉพาะผู้รับบริการในกระทรวงใด
                      - ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
                      - ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์
                     

- สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                      - สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของของมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ฯลฯ