วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 ศึกษาดูงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา






 -สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
               

              -ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงานดังนี้
1.วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน
 2.งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุด
3.งานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุด
4.งานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
5.งานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่าง ๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องขอ
6.งานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรในระดับต่าง 
                   -ฝ่ายบริการสารสนเทศ  ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ ดังนี้
 งานยืม-คืน
·       บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์
·       บริการยืมระหว่างห้องสมุด
·       รับสมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ตรวจสอบหนี้สินของสมาชิกห้องสมุด
·       แจ้งสื่อเกินกำหนดส่งและแจ้งวันกำหนดส่งสื่อล่วงหน้าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย
งานส่งเสริมการใช้บริการ
·       ฝึกอบรมการใช้ห้องสมุดและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด
·       บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
งานบริการผู้อ่าน
·       ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ
·       ตรวจสอบหนังสือที่มีสภาพชำรุดและจัดส่งไปบำรุงรักษา
 -ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
               -ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
1.งานตรวจสอบหนังสือกับฐานข้อมูล
- รับหนังสือจากฝ่ายวางแผนฯ และนำหนังสือมาทำการตรวจสอบรายการในระบบฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด หากรายการใดมีอยู่แล้วดำเนินการเพิ่มข้อมูลรายการ(Item) ในฐานข้อมูล
- นำหนังสือที่ไม่มีในระบบฐานข้อมูลมาตรวจสอบกับinternet
- รายการใด ไม่มีในระบบห้องสมุด จะนำส่งให้บรรณารักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ต่อไป
2.งานสร้างและควบคุมฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ 
 - การกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
 - ออกแบบหน้าจอของงานฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
- ดูแลระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
  3.งานบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ  วิทยานิพนธ์ และสื่อโสตทัศน์ เช่น  ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ  สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์  ปีพิมพ์ หัวเรื่อง และข้อมูลอื่นๆ ตามรูปแบบมาตรฐานการลงรายการ  US MARC ลงในระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือลงระบบ  Magic  Library
งานวิเคราะห์ข้อมู
 - วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือแต่ละรายการ และกำหนดเลขหมู่ให้ตรงกับเนื้อหาพร้อมทั้งกำหนด หัวเรื่องโดยใช้คู่มือประกอบ
- ลงรายการบรรณานุกรม และกำหนดหัวเรื่องสื่อโสตทัศน์
4.งานเตรียมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ก่อนออกบริการ 
- พิมพ์สัน ติดสัน ตามเลขเรียกหนังสือ
- ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือกับสันหนังสือ
- พิมพ์รายชื่อหนังสือใหม่ตามใบแนะนำสั่งซื้อ ของอาจารย์ที่สั่งซื้อ
- นำหนังสือส่งฝ่ายบริการสิ่งพิมพ์ และ ฝ่ายส่งเสริมการใช้บริการ เพื่อออกให้บริการ
- นำสื่อโสตทัศน์ส่งออกให้บริการ
           -ฝ่ายเอกสารและวารสาร  ดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร
           -ฝ่ายโสตทัศนศึกษา  เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด
การให้บริการ  
          พื้นที่บริการ
                                   ชั้น 2
·       สมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์ยืมระหว่างห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
·       หนังสือภาษาต่างประเทศ
·       มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Corner), มุมต่อต้านการค้ามนุษย์มุมคุณธรรม
ชั้น 3
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       หนังสือภาษาไทยนวนิยายเรื่องสั้นหนังสือเด็ก
ชั้น 5
·       ยืมหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       ฝึกอบรม/ แนะนำการใช้ห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
                  ·       วิทยานิพนธ์หนังสืออ้างอิงหนังสือหายากราชกิจจานุเบกษา,สารสนเทศภาคตะวัน                                               ออกจุลสารกฤตภาค
                          ชั้น 7
·       หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
·       หนังสือภาษาไทย พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526
                  ·       หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1970
                   การบริการ

·       บริการหนังสือด่วน (หนังสือใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของงานพัฒนาทรัพยากร)หนังสือสืบค้นได้จาก OPAC (การสืบค้นจากคอมพิวเตอร์) ในช่องสถานะของหนังสือระบุว่า  กำลังดำเนินการ  ผู้ใช้สามารถขอรับบริการหนังสือชื่อเรื่องนั้น ๆ ได้จากฝ่ายวางแผนและพัฒนาทรัพยากร ห้อง 109 ชั้น สำนักหอสมุด โดยทางฝ่ายจะให้บริการหนังสือด่วนแก่ผู้ใช้บริการทันทีที่ได้รับแบบคำร้องขอใช้หนังสือด่วน ซึ่งขอรับบริการคำร้องดังกล่าวได้จากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 2
·       บริการอินเทอร์เน็ต
·       บริการจัดแสดงสื่อใหม่
·       บริการห้องมินิโฮมเธียเตอร์
·       บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
·       บริการยืม-คืนสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
·       บริการขอใช้สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เร่งด่วน
·       บริการปริ้นท์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตด้วยเครื่องพิมพ์มีทั้งขาวดำ และสี
·       บริการจองสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง WEB OPAC
·       บริการแปลงสัญญาณเทปวีดิทัศน์เป็นวีซีดีหรือแปลงสัญญาณวีซีดีเป็นเทปวีดิทัศน์
·       บริการ Video on Demand, CD on Demand
·       บริการนิทรรศการออนไลน์
·       บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
       การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด   
           1.  หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4  ประเภทได้แก่  หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา)  หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง  
            2.  หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
              3.  การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
              4.  สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมาบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทำการปกติหากได้รับแจ้งหลังจากเวลานั้นผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา
              5.   วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมการเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม

สัปดาห์ที่ 4 หลักการจัดการคน (Staffing)

❤ ความหมายของการบริหารบุคคล

ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ


✖ ✖ หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ 

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ


                               ✰  การจำแนกตำแหน่ง 
การจำแนกตำแหน่ง หมายถึง การจัดสรรตำแหน่งออกเป็นประเภท หมวดหมู่ ตามลำดับชั้น เพื่อความสะดวกในการสรรหา บรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่ง การจำแนกตาแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตาแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์


                        การวางแผนกาลังคน Manpower Planning
หมายถึง กระบวนการที่กำหนดหรือระบุ ความต้องการกำลังคน รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งกำลังคนตามที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์และแผนขององค์การที่วางไว้ การวางแผนกาลังคนจะช่วยให้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจะได้มีคนไว้ทำงานในทุกตำแหน่งและทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนกำลังคนทาให้เราเชื่อมั่นว่า เรามีคนที่เหมาะสมพร้อมไว้เสมอที่จะบรรจุเข้าทำงานในตาแหน่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่สาคัญ ๆ




การวางแผนกาลังคนที่ดี ต้องทราบสาระดังนี้

1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตาแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตาแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ


สัปดาห์ที่ 3 การวางแผน (Planning)

การวางแผน (Planning)

♦ ประเภทและรูปแบบของการวางแผนงาน
1. การวางแผนงานระยะสั น มีลักษณะดังนี้
    1.1 เป็นแผนงานที่ใช้เวลาปฏิบัติไม่ยาวนานเกินไปนัก
    1.2 แผนงานระยะสั้นจะกาหนดเวลาแน่นอนกาหนดขัั้นตอนของการปฏิบัติ กำหนดงบประมาณและบุคลากรโดยละเอียด

2. การวางแผนงานระยะยาว มีลักษณะดังนี้
    2.1 เป็นแผนงานที่ใช้เวลานาน 3,5 หรือ 10 ปี
    2.2 เป็นแผนงานของกิจกรรมหรือโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงาน


รูปแบบของแผนงาน
1. จุดมุ่งหมาย (Objective) เป็นการกาหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อเป้าหมายในการทางาน
2. นโยบาย (Policy) เป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่จะให้แผนงานบรรลุตามจุดมุ่งหมาย เช่น จัดให้มีศูนย์สื่อการสอนขึ นในโรงเรียน เพื่อบริการสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นต้น
3. แนวปฏิบัติ เป็นการกาหนดขอบข่ายของงานที่ปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เวลา กิจกรรม กาลังคน งบประมาณ ขอบข่ายของการปฏิบัติ ฯลฯ ให้ชัดเจน ไม่ซาซ้อนกันและต้องกาหนดว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติ ตรวจสอบ ควบคุม และรายงาน

4. มาตรฐานของงาน ในขั นตอนต่าง ๆ งานที่ถือว่าบรรลุจุดมุ่งหมายแต่ละข้อมีลักษณะอย่างไร เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
     4.1 มาตรฐานของผลการปฏิบัติงาน โดยคานึงถึงคุณภาพ ปริมาณของงาน เวลาที่ใช้ไป ตลอดจนค่าใช้จ่าย
    4.2 มาตรฐานของกระบวนการปฏิบัติงาน ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรม


▲▼ ขั้นตอนของการวางแผนงาน ▲▼



1. สำรวจปัญหาและความต้องการ
2. หาข้อมูลเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการวางแผน
3. ระดมสมองเพื่อกาหนดวิธีการดำเนินงาน
4. เขียนโครงการและแผนงาน


❥ รายละเอียดของกระบวนการวางแผน 


1. ขั้นวางแผน (Planning) เป็นการเตรียมการในขั้นต้น
2. ขั นทดลองแผน (Doing) เป็นการนาแผนที่วางไว้ไปทดลองปฏิบัติเพื่อพิจารณาผลของการปฏิบัติตามแผน
3. ขั้นตรวจสอบแผน (Check) เป็นการประเมินปรับปรุงตรวจสอบจากการทดลองการนาแผนนั นไปปฏิบัติ
4. ขั้นนาเสนอแผน (Act) คือ การแสดงแผนที่ได้จากการปรับปรุง




------------------------------------------------------

การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ 
ขั้นตอนการเขียนแผนผังการบริหารงานศูนย์
1.ศึกษาจุดมุ่งหมายของโครงการและหน่วยงานนั้นให้ชัดเจน
2. วิเคราะห์งานแล้วรวมงานเหล่านั้นเป็นหมวดหมู่ โดยให้แต่ละหมวดหมู่ของงานมีความสำคัญทัดเทียมทั้งปริมาณและคุณภาพ
3. กาหนดขอบเขตของการใช้อำนาจบริหารและควบคุมงาน ตลอดจนดำเนินงานในแต่ละหน่วยงานย่อยให้ชัดเจนโดยการแสดงสายงาน
4. การจัดรูปแบบงานโดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่การบริหารและความรับผิดชอบควบคู่กันไป

แผนผังการจัดโครงสร้าง
1.) แบบ Line Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอานาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆจากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่าสุด



2. แบบ Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสาหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอานาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ