วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2 รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบของกระทรวงศึกษาธิการ 52 แห่ง

 ได้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้
1.) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ   ได้แก่ สวนสัตว์,สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น
2.) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่  ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
3.) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สถาบัน  ได้แก่  ห้องสมุดต่างๆ ,อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,หอศิลป์ ,พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น 
4.) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิธีการ ได้แก่  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  เป็นต้น


แหล่งการเรียนรู้ " พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม "  จัดอยู่ในประเภท สถานที่






"พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย"ได้ก่อกำเนิดเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของศิลปินกลุ่มหนึ่ง นำโดยอาจารย์ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ คิดจะสร้างหุ่นขี้ผึ้งไทยตามแบบหุ่นขี้ผึ้งของมาดามทรูโซ ในอังกฤษ แต่พอได้ลองปั้นแล้วมีเกิดปัญหาหลายๆอย่าง คือ ประเทศไทยเราเราเป็นเมืองร้อน และมีฝุ่นละอองมาก แถมยังมีความชื้นสูง ปัญหาต่างๆเหล่านี้มันส่งผลต่อการคงรูปของหุ่นขี้ผึ้ง ดังนั้น อ.ดวงแก้ว และคณะ จึงได้คิดพลิกแพลงทดลองนำวัสดุหลายๆอย่างมาใช้แทน ที่สุดก็ทำให้รู้ว่า การใช้ไฟเบอร์กลาส..สามาถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวหุ่นขี้ผึ้งได้ เพราะไฟเบอร์กลาสมีคุณสมบัติพิเศษที่คงทน ให้ความรู้สึกนุ่มนสล สวยงาม จึงได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสของ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ดฉิมพลี ขึ้นเป็นรูปแรก ต่อมาได้จัดสร้างหุ่นขึ้นอีกหลายๆชุด กระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2533 จึงเปิดให้ชมกันอย่างเป็นทางการ 




กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
กลุ่มเป้าหมายเยาวชน นักท่องเที่ยว  และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหุ่นขี้ผึ้ง

วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม

การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยเป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นนิทรรศการถาวร และชั้นบนเป็นการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ


รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคการนำเสนอ

ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดเป็นห้องแสดงถาวรจำนวน7 ห้องประกอบด้วยหุ่นชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีและชุดมุมหนึ่งของชีวิตเป็นการ แสดงชุดหมากรุกไทย ชุดครอบครัวไทย ชุดเลิกทาส เป็นต้น ชั้นบน จัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการชั่วคราวชุดต่างๆหมุนเวียนตามความเหมาะสม ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องชุดครูเพลงไทย ชุดบุคคลสำคัญของโลก ชุดวรรณคดีไทย พระอภัยมณีของสุนทรภู่  ชุดการละเล่นของเด็กไทย ชุดประวัติศาสตร์ไทย 
มีการจัดแบบจำลองโดยทำจากวัสดุไฟเบอร์กลาสและนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ








วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน นักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหุ่นขี้ผึ้ง เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลาย ซึ่งจัดนิทรรศการเป็นแบบหมุนเวียน ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัย ที่ต้องการ การเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป



การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เน้นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ และไม่จำกัดกลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้


กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร 
ความรู้ ความเข้าใจ  ได้ความรู้ในเรื่องของประวัติของบุคคลสำคัญ ในสาขาต่างๆ ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ 
- ความบันเทิง สันทนาการ ได้รับความสนุกสนาน ในการเดินชมนิทรรศการ การถ่ายภาพความประทับใจต่างๆ 



▀ ▄▀ ▄▀ ▄▀ ▄▀ ▄▀ ▄▀ ▄



แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล  




แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล


พ่อจันทร์ที ประทุมภา  (ปราชญ์ผู้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต)


                               (อ้างอิงจาก : http://www.youtube.com/watch?v=BqKW5FYajLE)




นายจันทร์ที ประทุมภา เป็นเกษตรกรที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 52 ปี  และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ จากที่เคยประสบภาวะวิกฤตชีวิต มีหนี้สินจำนวนมาก ต้องขายทรัพย์สินที่มีและนำที่ดินไปจำนอง กระทั่งต้องไปทำงานรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานหนักและอดออม ภายในระยะเวลา 1 ปี จึงเหลือเงินกลับมาจนสามารถใช้หนี้และไถ่ถอนที่ดินคืนมาได้ แล้วจึงเริ่มต้นวิถีเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2534 ด้วยทุนที่มีเหลืออยู่กับตัว คือ สองมือและอุปกรณ์ข้างกาย ได้แก่ จอบและบุ้งกี๋ ขุดสระน้ำด้วยแรงงานที่มีในครัวเรือน จำนวน 4 คน ใช้เวลา 3 เดือน จึงเริ่มเก็บกักน้ำได้ ดำรงตนอย่างสมถะ สร้างอาหารไว้กินเองในครอบครัว และใช้แรงงานภายในครอบครัว 6 คน ไม่มีการจ้างแรงงานภายนอก 


ผลงานดีเด่น

1. เป็นบุคคลที่นำความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ และขยายผลให้แก่ชาวบ้านจนประสบความสำเร็จด้วย 

2. แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่




พ่อทองหล่อ เจนไธสง (ปราชญ์ชาวบ้านผู้พึ่งตนเองด้วยการออม)



อ้างอิงจาก : 
http://www.youtube.com/watch?v=--36Qk5DWKk


พ่อทองหล่อ เจนไธสง ปราชญ์ชาวบ้านผู้พึ่งตนเองด้วยการออม


บ้านหายโศก ต.หายโศก อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ มีอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวน มีพื้นที่การเกษตรเป็นของตนเองจากพ่อแม่ที่ตกทอดมาจำนวนประมาณ 45 ไร่ โดย พ่อทองหล่อ เจนไธสง ใช้การทำเกษตรแบบเกษตรอินทรี เพราะเคใช้สารเคมีแล้วเกิดอาการแพ้ เมื่อทำเกษตรอินทรีแล้วผลคือ ข้าวเจริญเติบโตได้ดีและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย




  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น