วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 หลักการจัดการคน (Staffing)

❤ ความหมายของการบริหารบุคคล

ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ


✖ ✖ หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ 

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ


                               ✰  การจำแนกตำแหน่ง 
การจำแนกตำแหน่ง หมายถึง การจัดสรรตำแหน่งออกเป็นประเภท หมวดหมู่ ตามลำดับชั้น เพื่อความสะดวกในการสรรหา บรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่ง การจำแนกตาแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตาแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์


                        การวางแผนกาลังคน Manpower Planning
หมายถึง กระบวนการที่กำหนดหรือระบุ ความต้องการกำลังคน รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งกำลังคนตามที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์และแผนขององค์การที่วางไว้ การวางแผนกาลังคนจะช่วยให้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจะได้มีคนไว้ทำงานในทุกตำแหน่งและทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนกำลังคนทาให้เราเชื่อมั่นว่า เรามีคนที่เหมาะสมพร้อมไว้เสมอที่จะบรรจุเข้าทำงานในตาแหน่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่สาคัญ ๆ




การวางแผนกาลังคนที่ดี ต้องทราบสาระดังนี้

1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตาแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตาแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น